>
 
คลิ๊กย้อนกลับ
 
   
 
 
 
What does Hologram?
 
หน้าแรก » ผลิตภัณฑ์ » เกี่ยวกับเรา แก้ไขล่าสุด » 6 มิถุนายน 2563 - 3.00pm.
 
 
 
ประวัติโฮโลแกรม
ออกแบบโฮโลแกรม
แม่แบบโฮโลแกรม
การนำโฮโลแกรมไปใช้
 
 
 
โฮโลแกรมมีแบบไหนได้บ้าง?
โฮโลแกรมจุดสัมพันธ์ต่อเนื่อง
โฮโลแกรม 2 มิติ
โฮโลแกรม 3 มิติ
โฮโลแกรม 2 มิติซ้อน 3 มิติ
โฮโลแกรมสีเหมือนจริง
โฮโลแกรมแบบเแสงสะท้อน
โฮโลแกรมแบบเคลื่อนไหว
โฮโฃแกรมซ่อนระหัสลับ
โฮโลแกรมแบบหลายหน้า
โฮโลแกรมอักษรขนาดเล็ก
โฮโลแกรมแบบผสมผสาน
โฮโลแกรมใส
โฮโลแกรม สเตรีโอ

 

วัตถุดิบโฮโลแกรมมีอะไรบ้าง?
วัตถูดิบแบบลอกเสียหาย
วัตถูดิบแบบลอกไม่เสียหาย
วัตถุดิบลอกแบบ VOIDและรังผึ้ง
วัตถุดิบVoid if Removedสำหรับพิมพ์
วัตถุดิบแบบใสลอกเสียหาย
วัตถุดิบแบบฟอล์ยฮอทสแตมป์
วัตถุดิบแบบขูดลอก
วัตถุดิบแบบสีต่างๆ
วัตถุดิบแบบเคลือบหลายชั้น
วัตถุดิบแบบพิมพ์หมึกยูวีเปลี่ยนสี
วัตถุดิบแบบลอกเป็นชื่อเฉพาะลูกค้า
วัตถุดิบเป็นเทปกันปลอม
วัตถุดิบแบบบัตร พีวีซี การ์ด
 
 
 

โฮโลแกรมกันปลอมร่วมกับงานพิมพ์อย่างไรบ้าง?

โฮโลแกรมพิมพ์คิวอาร์โค้ด
โฮโลแกรมพิมพ์บาร์โค้ด
โฮโลแกรมพิมพ์ GPS โค้ด
โฮโลแกรมพิมพ์สี
โฮโลแกรมพิมพ์สีแบบเปลี่ยนสี
โฮโลแกรมพิมพ์สีแบบหลายชั้น
โฮโลแกรมแบบพิมพ์รัน นัมเบอร์
โฮโลแกรมแบบทรานเฟอร์
เทปกันปลอมแบบพิมพ์สี
โฮโลแกรมแบบพิมพ์หมึกยูวีเปลี่ยนสี
 
 
 
 
 
 

Hologram Master

 
1. การเตรียมอาร์ตเวิร์ค

ก่อนการผลิตแม่แบบโฮโลแกรมนั้น เราต้องมีการจัดเตรียมอาร์ตเวอร์คก่อนอันดับแรก ซึ่งโดยทั่วไปมักจัดทำ ในโปรแกรม Coral Draw หรือ Ilusstatus เท่านั้น เนื่องจากไฟล์งานที่ทำในโปรแกรมดังกล่าวให้ผลต่องาน โฮโลแกรม ที่คมชัด ดีกว่าโปรแกรมอื่น ๆ โดยเราจะจัดทำอาร์ตเวอร์คเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันกับความ ต้องการของลูกค้า มีการแยก ออกเป็นสี และชั้น รวมถึงรายละเอียดต่าง ๆ ของไฟล์งาน เพื่อใช้ในการ ทำงาน และยืนยันระหว่างขั้นตอนการทำงาน โดยสิ่งสำคัญที่นักออกแบบต้องคำนึงถึงในการออกแบบ คือ ต้องไม่ให้ชั้นงานโฮโลแกรมที่ออกแบบรบกวนระหว่างกัน ในแต่ละชั้น คือทั้งสีแสง และรายละเอียด ดังนั้น อาจเป็นไปได้ว่า ในการผลิตแม่แบบโฮแกรมแต่ละครั้ง อาจจำต้องมีการ แก้ไขหรือทดลองผลโฮโลแกรม หลาย ๆครั้ง เพื่อเลือกเอาตัอย่างที่ดีที่สุด สำหรับใช้เป็นแม่แบบโฮโลแกรมในการผลิตจริง

2.กระบวนการผลิตแม่แบบ

ธุรกิจการผลิตโฮโลแกรมโดยทั่วไปนั้น, แบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบหลักด้วยกัน กล่าวคือ ขั้นการเตรียม แผ่นฟิล์มโฮโลแกรม ขั้นการจัดทำ เพื่อให้เห็นภาพเป็นรูปร่าง และ ขั้นสุดท้ายคือการจัดเก็บภาพแสง โฮโลแกรมที่ได้ หรือที่เราเรียกว่า Embossed Hologram การเก็บภาพหรือ การ emboss นี้ถือเป็นเรื่อง ที่ต้องทำในการผลิตโฮโลแกรมทุกชนิด รวมถึงในการผลิตเพื่อเป็นอุตสหกรรมอีกด็วย ซึ่งใช้กันอย่าง กว้างขวาง ในการผลิตโฮโลแกรมกันปลอม สติกเกอร์โฮโลแกรม หีบห่อโฮโลแกรม และอื่น ๆ โดยก่อน ที่จะไปสู่กระบวนการ Emboss นั้น, เราต้องมีการจัดทำที่เราเรียกว่า "holography nickel master" หรือ แผ่นต้นแบบโฮโลแกรมซึ่งทำด้วยนิคเกิลเสียก่อน ซึ่งเราจะได้ "holography master " นี้จาก ห้องปฎิบัติ การทดลอง หรือ Hologram master shootting lab ซึ่งประกอบไปด้วยรายะเอียดมากมายในกระบวน การผลิตต้นแบบ เช่น แบบ 2มิติ 2มิติ/3มิติ, แบบจุดสัมพันธ์ต่อเนื่อง และแบบอื่น ๆ ที่นักปฎิบิติการ โฮโลแกรมต้องทำก้น แต่ทั้งหมดมาจากลำแสงเลเซอร์ทั้งสิ้น ที่ได้มาจากการควบคุมในการจัดการ โดย ผู้เชี่ยชาญจะจัดเก็บภาพโฮแกรมที่ได้ลงใน แผ่นพลาสติคใส หรือกระจกใสชนิดพิเศษ. หลังจากนั้นจะนำ ไปสู่กระบวนการที่เรียกว่า Electronic Forming หรือกระบวนการเคลือบสารบางชนิดลงบนแผ่นนิคเกิล ด้วยสื่อนำไฟฟ้า ในหม้อกำเนิด โดยหลักการผ่านน้ำ และกระแสไฟฟ้าบวกลบ ในห้องปฎิบัติการ จากข้น ตอนนี้เราถึงจะได้ "holography nickel shim " หรือแม่แบบโฮโลแกรมที่ สมบูรณ์แบบ โดยภาพโฮโลแกรม จะถูกบันทึกไว้ หากมีการซ่อนระหัสลับ หรือ Ebeam หรืออย่างอื่น ๆ เราก็จะได้ผลออกมาในขั้นตอนนี้. นี่คือ ที่เรา เรียกว่า "แม่แบบโฮโลแกรม" . และหลังจากนั้นในการผลิตจริง เราจะใช้วิธีการทำซ้ำจากแผ่นต้นแบบ หรือที่เรียว่า " Shim copy" เพื่อใช้ในการ ผลิตโฮโลแกรมในกระบวนการต่อไป

ลำดับการผลิตแม่แบบโฮโลแกรม

ขั้นที่ 1, สร้างภาพโฮโลแกรมที่ต้องการบนแผ่นพลาสติคใสชนิดพิเศษ หรือกระจกใส เพื่อนำไปสู่การผลิตแม่แบบโฮโลแกรม.

ตัวอย่างที่เห็นเป็นภาพโฮโลแกรมที่ได้บนกระจกใส เพื่อใช้เป็นต้นแบบ 'Original master'
โดยเป็นแบบ 2มิติ/3มิติ 2 ชั้นโฮโลแกรม 1สี ในชั้นผิวหน้า และ 2 สี ในชั้นหลัง..

โฮโลแกรมบนกระจกแม่แบบ. เป็นแบบ 2มิติ/3มิติ แบบ 3 ชั้น 1 สีในชั้นหน้า, 1 สีในชั้นหลัง และ 1 สีในชั้นกลาง

ขั้นที่ 2 เราจะดำเนินการเคลือบสารลงบนผิวของวัสดุในขั้นตอนแรก, หลังจากนั้นเข้าสู่กระบวนการที่เรียกว่า electronic forming เพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องเพื่อความสมบูรณ์ของแม่แบบ เพื่อนำไปใช้งานในกระบวนการต่อไป.

ตัวอย่างแผ่นกระจกโฮโลแกรมที่ผ่านการเคลือบด้วยสารแมททอลไลท์แล้ว. หลังจากนั้นเราจึงจะได้ค่าโฮโลแกรมอีกด้านที่ต้องการ. เพื่อนำไปเข้ากระบวนการ Electronic foaming ต่อไป

ขั้นที่ 3 เราจะได้แม่แบบโฮโลแกรม หรือที่เรียกว่า holography master origination

ตัวอย่างแม่แบบโฮโลแกรม 2มิติ/3มิติ ที่สำเร็จแล้ว เป็นแบบ 3 สีในชั้นแรกสุด 2สีในชั้นหลัง และ 1 สี ในชั้นกลางหรือชั้นเปลี่ยนผ่าน

ตัวอย่างแม่แบบโฮโลแกรม 2มิติ/3มิติ .ซึ่งมี 3 ขั้น. ชั้นหน้าเป็นแบบเทคนิคจุดสัมพันธ์เป็นสีรุ้ง,
มีชั้นเปลี่ยนผ่าน 1 ชั้น และ ชั้นหลังสุดอีก 1 ชั้น..

ตัวอย่างแม่แบบโฮโลแกรม 2มิติ/3มิติ พร้อมกับใช้เทคนิคการซ่อนรหัสลับ.
โดยมีชั้นเปลี่ยนผ่าน 1 ชั้น ,ชั้นหน้า 1 ชั้น และชั้นหลังออกแบบให้มีอีก 2 ชั้นใน 2 สี

ตัวอย่าง 2มิติ/3มิติ, แบบสีเดียวในชั้นหน้า,และ2 สี สำหรับ ชั้นหลังที่ออกแบบเป็น 2 ชั้นด้วยกันเพื่อให้มองดูอิสระจากกัน

ตัวอย่าง 2มิติ/3มิติ, แบบสีเดียวในชั้นหน้า,และ2 สี สำหรับ ชั้นหลังที่ออกแบบเป็น 2 ชั้นด้วยกันเพื่อให้มองดูอิสระจากกัน

ตัวอย่างโฮโลแกรมแม่แบบจุดสัมพันธ์ ร่วมกับ 2มิติ/3มิติ . เราจะเห็นตัวอักษรบนชั้นหน้าสุดเป็น 2มิติ/3มิติ แต่การเคลื่อนไหวนั้นมาจากเทคนิคโฮโลแกรมแบบจุดสัมพันธ์ต่อเนื่องกันไปทำให้ดูมีการเคลื่อนไหว

ตัวอย่างแม่แบบโฮโลแกรมแบบใช้เทคนิคจุดสัมพันธ์ ร่วมกับ 2มิติ/3มิติ เป็นการผสมกัน. ตัวอักษรเป็นแบบ 2มิติ/3มิติ ซึ่งทำให้ดูคมชัด.ส่วนมุมมองที่ดูเคลื่อนไหมาจากเทคนิคโฮโลแกรมแบบจุดสัมพันธ์. ในที่นี่เราจะเห็นแถบสีขาวอยู่ด้านล่าง เราเตรียมใช้สำหรับในขั้นตอนการ die-cut ด้วยเครื่องอัตโนมัติ และการพิมพ์รันนัมเบอร์.

ขั้นที่ 4 , การสร้างโฮโลแกรม Shim หรือการ Duplicate จากแม่แบบโฮโลแกรม ในการทำงานนั้น เนื่องจาก แม่แบบโฮดลแกรมที่ได้จะมีอายุการใช้งานที่จำกัด ดังนั้นกระบวนการนี้จึงมีส่วนสำคัญร่วมด้วย.

ตัวอย่าง แม่แบบ 2มิติ/3มิติ ที่สมบูรณ์ โดยภาพโฮโลแกรมที่ได้จะเป็นด้านที่ถูกต้อง. ในภาพนี้โฮแกรมที่ได้เป็นแบบ hard embosser.

ตัวอย่างแม่แบบโฮโลแกรม 2มิติ/3มิติ ที่สมบูรณ์แล้ว

ตัวอย่างแม่แบบโฮโลแกรม แบบ 2มิติ/3มิติ ที่สมบูรณ์แล้ว โดยเป็นแบบโฮโลแกรม 3 ชั้น. ภาพที่เห็นได้จากการทำแบบ hard embosser.

ตัวอย่างแม่แบบโฮโลแกรมแบบจุดสัมพันธ์ ที่ได้จากการทำงาน

โฮโลแกรมแบบจุดสัมพันธ์ต่อเนื่อง เมื่อได้แม่แบบที่สมบูรณ์จะเป็นลักษณะดังตัวอย่างนี้

ตัวอย่าง แม่แบบโฮโลแกรมที่ได้จากการใช้เทคนิคต่างๆ

 
 
 
 
 
หน้าแรก :: ผลิตภัณฑ์ :: เกี่ยวกับเรา :: ติดต่อเรา :: หน้าเว็บไซต์ทั้งหมด :: โฮโลแกรมคืออะไร :: สั่งซื้อสินค้า :: ใครคือพาโนโฮโลแกรม? :: ติดต่อเราได้อย่างไร
  บริษัท พาโนมีเดีย จำกัด
326/60 ถนนราษฎร์อุทิศ, แขวงแสนแสบ, เขตมีนบุรี, กรุงเทพมหานคร 10510 ประเทศไทย
โทรศัพท์.66-02-9890955-6, แฟ็กซ์. 66-02-9890956
อีเมล์: panomedia@hotmail.com Line ID: panomedia
 
  สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2562 บริษัท พาโนมีเดีย จำกัด